วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562


อนุทินที่ 3

แบบฝึกหัดทบทวนบทที่2

กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแห่งชาติ


เมื่อนักศึกษาได้เรียนบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1.ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไรและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย

ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”รัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49


2.แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย

ตอบ  หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ

หมวด4 หน้าที่ของชนชาวไทย

มาตรา53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

หมวด5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

มาตรา62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพและมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย

มาตรา63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
(ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)



3.เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช2511 พุทธศักราช2517 และ พุทธศักราช2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย

ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช2521 เหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาลโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน



4.ประเด็นที่1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช2475-2490 ประเด็นที่2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2549-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย

ตอบ  ในประเด็นที่1 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจ  ประเด็นที่2 มีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน



5.ประเด็นที่3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย

ตอบ  เหมือนกันที่รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐย่อมได้รับการคุ้มครอง


6.เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย

ตอบ การปรับเปลี่ยนตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน 


7.เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด“บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ”จงอธิบาย  หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น

ตอบ  เมื่อกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา

8.การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมและถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ  ฉบับที่5-10 (พ.ศ. 2540-2550) และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึง


9.เหตุใดการจัดการศึกษารัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย

ตอบ  ความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


10.ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ     ในด้านการศึกษา

1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี

2. ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน

3.  การมอบทุนการศึกษา

 4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1 ในวันเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ ประธาน สนช. จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย

ผลการออกเสียงประชามติ

เนื่องจากความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงดำเนินไปบนความร้อนแรงทางการเมือง มีการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ กับทั้งมีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการร่าง เช่น ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง และคมช.ผูกขาดการสรรหาสมาชิกสสร. รวมถึงเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของร่าง เช่น ให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่มาจากการแต่งตั้ง และให้นิรโทษกรรม คมช. เองที่ก่อรัฐประหาร

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และหลักเกณฑ์ในการทำสนธิสัญญา (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)

ประเด็นข้อเรียกร้อง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบุคคลและองค์กรต่าง ๆออกมาเรียกร้องในหลายประเด็น เช่น

การแก้ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งแทนที่จะมาจากการเลือกตั้งเดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขให้มาจากการแต่งตั้งโดยกลุ่มทหารและข้าราชการ นายวิชา มหาคุณ อดีตผู้พิพากษาและกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้สนับสนุนการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาโดยกล่าวว่า "เรารู้กันดีว่าการเลือกตั้งสว.เป็นเรื่องการเล่นตลกร้ายของตระกูลนักการเมือง ทำไมชาวบ้านถึงอยากให้เห็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยชาวบ้านและโดยเฉพาะนักวิชาการที่อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะก่อให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงกำลังคิดแบบฝันลอยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นปัญหาสภาเหมือนที่เห็นกันในอดีตดังนั้นทำไมชาวบ้านไม่อยากให้กลุ่มผู้พิพากษาช่วยเลือกให้

การลดความมั่นคงของฝ่ายบริหารและระบบพรรคการเมืองเดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งมีความมั่นคงและระบบพรรคการเมืองเพิ่มความสำคัญขึ้นสภาร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขให้ฝ่ายบริหารและระบบพรรคการเมืองลดอำนาจเบ็ดเสร็จลงโดยทำให้ยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ง่ายขึ้น อนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายพรรคได้ง่ายขึ้นและไม่อนุญาตให้บุคคลใดมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีเกินสองสมัย

การไม่บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติโดยมหามกุฏราชวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, คณะสงฆ์อณัมนิกาย และอีก 300 องค์กรได้รณรงค์ให้มีการบัญญัติคำว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแต่ไม่สำเร็จ

การเรียกร้องให้เปลี่ยนนามประเทศไทยเป็นสยามโดยดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงทางเชื้อชาติ ภาษาและอัตลักษณ์วัฒนธรรมตรงตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อหลักการณ์ของความสมานฉันท์ยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติ การเรียกร้องเรื่องความเสมอภาคของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศโดยกลุ่มเกย์ 10 องค์กร

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562


วันอาทิตย์ ที่24 กุมภาพันธ์ 2562
อนุทินที่ 2
แบบฝึกหัด

คำสั่ง: จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราถึงต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร

ตอบ การที่มาร่วมกันอยู่เป็นจำนวนมาก จะต้องเกิดมีเห็นที่แตกต่างกัน เกิดการขัดแย้ง ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งกฎและระเบียบขึ้นเพื่อจำกัดสิทธิบางอย่าง และให้มีเสรีภาพเท่าที่จำเป็น เพื่อที่มนุษย์จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง เข่นฆ่ากันขึ้น กฎและระเบียบต่างๆ ในโลกนี้ มีคู่กับมนุษย์มานานแล้ว ตั้งแต่มนุษย์เริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยให้นึกย้อนกลับไปเมื่อสมัยพันๆ ปีที่แล้วที่มนุษย์ยังอาศัยอยู่ตามถ้ำ ตามป่า อยู่แบบหากินตัวใครตัวมัน และยังไม่สื่อสารกันรู้เรื่อง แต่เมื่อมีการวิวัฒนาการสื่อสารกันเข้าใจ ก็เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นเหล่า เป็นสังคม จากนั้นก็มีเกิดผู้มีอำนาจ มีกำลังที่เหนือกว่าคนอื่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้าหรือผู้นำ แล้วออกกฎระเบียบเพื่อปกครองกลุ่มของตนให้อยู่ร่วมกันได้ หรือออกมาในรูปแบบพ่อมด แม่มด หรือหมอผี ซึ่งระเบียบข้อกำหนดดังกล่าวจะถูกสร้างขึ้นมาโดยถือเอาความกลัว หรือความไม่รู้ของมนุษย์เป็นตัวตั้งและกฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคมพัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคมกับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

         หากไม่มีกฎหมายอำนาจจะตกอยู่กับผู้ที่มีอำนาจ ไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีบทลงโทษ ในที่สุดก็จะไม่มีระเบียบวินัย บ้านเมืองมีปัญหาวุ่นวาย มนุษย์ต่างคนต่างจะทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ โดยไม่เกรงกลัวความผิด  ผู้ที่มีอิทธิพลก็จะควบคุมคนในสังคม โดนการเอาเปรียบ



2.ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร

        ตอบ ถ้าไม่มีกฎหมาย บ้านเมืองคงมีปัญหาการวุ่นวาย   คนที่มีโอกาสมากกว่าก็จะโดนเอาเปรียบ โดยผู้น้อยก็ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องอะไร ความสงบสุขก็จะหายไป เพราะสังคมอยู่ไม่ได้ หากไม่มีกฎหมายจะเป็นบ้านเมืองที่วุ่นวาย มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นเช่น  การปล้น  การฆ่า การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน การข่มขืนทุกวันมีการแย่งชิงอิทธิพลความเป็นใหญ่ คนที่ทำผิดก็ไม่ต้องรับโทษผู้ที่มีอิทธิพลจะอยู่สบายคอยกดขี่ข่มเหงผู้อื่นเป็นบ้านเมืองป่าเถื่อน 



3.ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้

ก. ความหมาย           

   ตอบ กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือข้อบัญญัติอันมาจากรัฎฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศนั้นบัญญัติขึ้นมา เพื่อประกาศใช้บังคับให้พลเมืองของประเทศนั้นทุกคน ซึ่งไม่จำกัดเพศ อายุ ชั้น วรรณะ สัญชาติปฏิบัติตามจนกว่ากฎหมายเหล่านั้นจะถูกประกาศยกเลิก และหากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ  

ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย

    ตอบ องค์ประกอบของกฎหมายประกอบด้วย 4 ประการ ได้แก่

          1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์หรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด เช่น รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้

           2. มีลักษณะเป็นข้อบังคับ ไม่ใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์

           3. ใช้บังคับกับทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้

          4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนอาจจะถูกลงโทษในทางอาญา เช่น รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์ หรือลงโทษในทางเพ่ง เช่น ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

ค. ที่มาของกฎหมาย           

  ตอบ  1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษรเช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย

                 2.   จารีตประเพณีเป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานานหากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย

                 3. ศาสนาเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆศาสนาสอนให้เป็นคนดีเช่นห้ามลักทรัพย์ห้ามผิดลูกเมียห้ามทำร้าย

ผู้อื่นกฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ

                4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษาซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการ ตัดสินคดีหลังๆซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด

               5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้

ง. ประเภทของกฎหมาย

      ตอบ ในประเทศไทยจะแบ่งประเภทของกฎหมายเป็น 2กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1. กฎหมายภายใน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทย่อย ดังต่อไปนี้

          1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

                   1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย เป็นต้น

                   1.1.2 ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีต ประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป

          1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง

                   1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา มีบทลงโทษ ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน

                   1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง ลงโทษโดยกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม หรือกฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม

          1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ

                   1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิดและกำหนดความร้ายแรงของโทษ

                   1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นวิธีการและขั้นตอนที่ใช้บังคับดำเนินคดีทั้งคดีอาญาและคดีเพ่ง

          1.4 กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน

                   1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม เช่น รัฐธรมนูญใช้กำหนดอำนาจอธิปไตย สิทธิและหน้าที่ของประชาชน

                   1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายเพ่งและพาณิชย์ เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกัน

2. กฎหมายภายนอก

          2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายว่าด้วยสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ

          2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายว่าด้วยสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ

          2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจารณาลงโทษอาญาแก่คนที่ทำผิดนอกประเทศ

  

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย

      ตอบ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม   เพราะกฎหมายนั้นเกิดขึ้นจากสังคมและเพื่อสังคมไม่อาจมีสังคมไหนจะธำรงอยู่ได้โดยไม่รู้สึกต้องการกฎเกณฑ์สำหรับจัดระเบียบพฤติการณ์ในสังคม มนุษย์จำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อการใช้ชีวิตในประเทศให้มีความสุข การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัว ไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐจึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น ระบบระเบียบแบบแผนที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้เป็นเกณฑ์สร้างความสัมพันธ์เหล่านี้ เป็นแนวทางหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นแบบแผนเพื่อควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม ซึ่งบางเรื่องมีลักษณะไม่คงที่ยาวนาน และบรรทัดฐานที่สำคัญทางสังคมคือ กฎหมาย (Law)

5.  สภาพบังคับทางกฎหมาย ท่านมีความเข้าใจว่าอย่างไร จงอธิบาย

       ตอบ   กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์  จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน 



6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

       ตอบ  แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่งคือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด 



7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย

       ตอบ  ระบบกฎหมายมี  2  ระบบ

            1.   ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ 


                2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้



8.  ประเภทของกฎหมายมีมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง
จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย

      ตอบ   ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

               1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย

               2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย

               3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน

ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย

ที่มาของกฎหมายมี 2 ระบบ คือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร และระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบจารีตประเพณี

1. ระบบลายลักษณ์อักษร ( CivillawSystem )ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบมีการจดบันทึกมีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภามีการจัด หมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษากฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกากฎกระทรวง 

2.ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( CommonLawSystem) เป็นกฎหมาย ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมาตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิมประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรได้แก่ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลาย ในเครือจักรภพของอังกฤษ

ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย

การแบ่งประเภทกฎหมายตามลักษณะการใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงบทบาทและหน้าที่การนำเอากฎหมายไปใช้เป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ

1. กฎหมายสารบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคลกำหนดข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญาโดยเฉพาะในทางอาญา คือประมวลกฎหมายอาญาจะ บัญญัติ ลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไรและในทางแพ่ง คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบท บัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น

2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้กฎหมายวิธีสารบัญญัติจะกำหนดระเบียบระบบขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก

 ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน

 คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติด้วยกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน คือ เจ้าหน้าที่รัฐกับเอกชน    แยกได้เป็น 3 ประเภท คือ กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน และกฎหมายระหว่างประเทศ

1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศรัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมจึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น

2.กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเองเป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมจึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายแพ่งทั้งหลายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น

3.กฎหมายระหว่างประเทศ คือกฎหมายที่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับเกิดจากความตกลงกันระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศแยกตามลักษณะความเกี่ยวพันประเภทใหญ่ๆ ได้  3  ประเภท คือ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เกิดขึ้นได้โดยข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่าง ประเทศต่อประเทศ หรืออาจมีประเทศอื่นเข้ามาร่วมเป็นสมาชิก หรือเป็นภาคีด้วย             



9. ท่านเข้าใจถึงคาว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร

        ตอบ     ศักดิ์ของกฎหมายคือ  เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้ ซึ่งประเทศไทยได้จัดลำดับความสำคัญของศักดิ์ของกฎหมายได้ดังนี้

          1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ

          2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยเห็นชอบจากรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับกฎหมาย

          3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุเร่งด่วนหรือฉุกเฉิน ซึ่งเมื่อตราแล้วขึ้นนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (2-3 วัน) หากอนุมัติก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเหมือนพระราชบัญญัติ

          4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ มีลักษณะคล้ายกับพระราชกำหนด ใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน

          5. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย ใช้ประกาศพระบรมราชโองการ มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ และขัดกับกฎหมายที่ศักดิ์สูงกว่าไม่ได้

          6. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก โดยออกตามกฎหมายแม่บท มีความสำคัญรองลงมาจากพระราชกฤษฎีกา

          7 ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแล ใช้บังคับเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดนั้น เพื่อจัดเรียงสังคมดูแลทุกข์สุขประชาชน

          8 เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล โดยมีการแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับ คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร



10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก

       ตอบ    เป็นการกระทำที่ผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองกันทั้งนั้น แต่ถ้ารัฐบาลกระทำรุนแรงกับประชาชนแล้วสิทธิของประชาชนจะตั้งไว้เพื่อทำอะไร เพราะในรัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า   

                1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

                2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

                3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง

                4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ



11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย

         ตอบ   กฎหมายการศึกษา หมายถึงกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้ และถือว่ากฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้ครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป 



12.  ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร

        ตอบ กฎหมายทางการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญในการศึกษา ที่จะทำให้คนมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่ามีอะไรบ้าง มีข้อห้ามข้อควรปฏิบัติอย่างไรทำให้เราได้เข้าใจและนำไปให้ทางการศึกษา การเรียนการสอน ฉะนั้นถ้าเราไม่รู้กฎหมายทางการศึกษาจะทำให้เกิดผลกระทบหลายด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดการศึกษาอย่างไรที่จะต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  และจะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษานั้นต้องทำอย่างไร  สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่คนเป็นครูจะต้องทราบเพื่อจะได้ส่งเสริมกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ 


อนุทินที่ 3 แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 2 กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแห่งชาติ เมื่อนักศึกษาได้เรียนบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถ...